กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>ไอทีในชีวิตประจำวัน #419 โฆษณาที่มีผลต่อผู้รับสารที่สุด</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>ไอทีในชีวิตประจำวัน #419 โฆษณาที่มีผลต่อผู้รับสารที่สุด ()<br /> พบผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ของ Nielsen จำนวนกว่า 29000 คนจาก 58 ประเทศ เกี่ยวกับการใช้สื่อโฆษณา (Advertising) ที่มีผลต่อความเชื่อ (Trust) และมีผลต่อพฤติกรรม (Action) ทำการสำรวจช่วงกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม 2556 พบว่าอันดับ 1 จากทั้ง 2 กรณีเป็นสื่อแบบเดียวกัน คือ การแนะนำจากคนที่รู้จัก อาทิ เพื่อนไปดูภาพยนตร์แล้วมาเล่าว่าสนุก จะรู้สึกเชื่อมากกว่าเห็นโฆษณาในทีวี และเลือกที่จะไปดูภาพยนตร์เรื่องนั้นมากกว่าเมื่อพบจากสื่ออื่น หรือไปทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่งแล้วบอกเพื่อนว่าไม่อร่อย ก็จะทำให้ผู้รับข้อมูลไม่สนใจที่จะไปรับประทาน เพราะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากคนรู้จักว่าไม่น่าไปลิ้มลอง<br /> หากต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือรองจากคำแนะนำของเพื่อน ตัวเลือกที่ได้รับความนิยม คือ เว็บไซต์ของเจ้าของสินค้าหรือบริการ แล้วเว็บไซต์ก็ยังอยู่ในอันดับสี่ที่จะส่งผลต่อพฤติกรรม เพราะเว็บไซต์มีข้อมูลที่เป็นทางการ ปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา และมีผู้รับผิดชอบข้อมูลชัดเจน จึงไม่แปลกใจที่มีผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเว็บไซต์ แล้วจัดหาบุคลากรให้ปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ บางองค์กรอาจพัฒนาระบบอีคอมเมอร์ซที่รองรับการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตของลูกค้า และมีรายละเอียดสนับสนุนการซื้อสินค้าได้อย่างดี<br /> โฆษณาทางทีวี และหนังสือพิมพ์มีผลต่อพฤติกรรมในอันดับ 3 และ 5 ตามลำดับ ส่วนอันดับ 2 คือ ความคิดเห็นที่โพสในออนไลน์ ซึ่งเป็นความเห็นที่กระจายอยู่ในสื่อที่หลากหลาย ผู้บริโภคจัดให้ความน่าเชื่อถืออยู่อันดับ 3 แต่โฆษณาทางทีวีมีผลต่อพฤติกรรมในอันดับ 3 แต่ว่าความน่าเชื่อถือกลับไปอยู่ในอันดับที่ 5 ส่วนโฆษณาทางหนังสือพิมพ์มีผลต่อพฤติกรรมในอันดับ 5 แต่ความน่าเชื่อถือไปอยู่อันดับที่ 7 จากข้อมูลข้างต้นพอสรุปได้ว่าโฆษณาทางทีวี และหนังสือพิมพ์ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในระดับที่สูงกว่าสื่อประเภทอื่น แต่การแนะนำจากคนที่รู้จักมีผลต่อความเชื่อและพฤติกรรมสูงสุด ซึ่งการทำธุรกิจที่ใช้สื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อทีวีอาจได้ผล แต่มีต้นทุนสูง ดังนั้นจะพบข่าวสารเกี่ยวกับการแนะนำสินค้า โดยผู้รับจ้างโพสต์ที่จัดทำคำแนะนำปลอม ซึ่งเข้าใจว่าเป็นความพยายามทำให้ธุรกิจของตนอยู่รอด แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือผู้บริโภคที่ได้สินค้าไม่ตรงกับสรรพคุณที่อวดอ้าง<br /> <br /> http://www.brandbuffet.in.th/2013/10/nielsen-trust-in-advertising/<br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='118.172.96.151'>.</a><br> 10:52am (13/10/13)</font></td></tr></table></center>